วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

week3

Social Network คืออะไร ใช้งานอย่างไร


Social Network คืออะไร บทเรียนขั้นพื้นฐาน สู่ความเข้าใจเรื่อง โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เพื่อนำไปสู่การทำการตลาดบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network Marketing

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Social Network สำหรับนักการตลาดมือใหม่ ที่คิดจะใช้ช่องทางนี้ในการ Promote สินค้า และบริการ  microBrand ได้เรียบเรียงเนื้อหาสั้นๆ แต่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มต้น แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นยังไง

Social Network คืออะไร

โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์  หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย  ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว)  การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้  เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย  ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา  สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย  และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย  ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้  เช่น  แสดงความคิดเห็น (Comment)  กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ  ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การจัดประเภทของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นสามารถแยกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามรูปแบบ แบ่งได้เป็น

1. Blog หรือ บล็อก คือเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาจากคำว่า Weblog (Website + Log) ซึ่งคำว่า Log ในที่นี้หมายถึง “ปูม” ดังนั้น Blog จึงมีลักษณะเป็นเว็บไซต์ที่จัดเก็บข้อมูลด้วยวิธีเดียวกับปูม  มีการเรียงลำดับตามวันที่บันทึก  ข้อมูลใหม่ที่ Post จะอยู่บนสุด  ส่วนข้อมูลเก่าจะอยู่ล่างสุด  โดยบล็อกสมัยนี้ไม่ได้อยู่ลำพังเดี่ยวๆ แต่มีลักษณะเป็น Community ที่รวบรวม Blog หลายๆ Blog เข้าไว้ด้วยกัน  สามารถเชื่อมโยงผู้เขียน (Blogger) ได้เป็นสังคมขนาดใหญ่  ในขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงผู้อ่านไว้กับผู้เขียนได้  โดยสามารถคอมเม้นต์บทความ  ติดตาม  หรือกดโหวตได้ เช่น Blogger เป็นต้น
2. ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็ก ใช้สำหรับส่งข้อความสั้นๆ ไม่กี่ประโยค เพื่อบอกถึงสถานการณ์ และความเป็นไป ไมโครบล็อกที่มีผู้นิยมใช้บริการ เช่น Twitter
3. โซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์ (Social Network Website) คือเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสังคมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Facebook, Linkedin, Myspace, Hi5 เป็นต้น เว็บพวกนี้มีจุดเด่นที่การแชร์คอนเท้นต์ ทั้งข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ บางเว็บรวมไปถึงบทความ เพลง และลิ้งค์  นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชั่นในการแสดงความรู้สึก หรือมีส่วนร่วม เช่น การกดไลค์ (Like) การโหวต การอภิปราย (Discuss) และการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
4. เว็บโซเชียลบุ๊คมาร์ค (Bookmark Social Site) เป็นเว็บที่ให้เราเก็บหน้าเว็บ หรือเว็บไซต์ที่เราชื่นชอบ เพื่อเอาไว้เข้าชมทีหลัง แต่พอมาเป็นโซเชียลไซต์ เราจะสามารถแชร์ URL ของหน้าเว็บเหล่านั้น รวมถึงดูว่าคนอื่นเก็บหน้าเว็บอะไรไว้บ้าง เข้าชม และแสดงความคิดเห็นต่อหน้าเว็บต่างๆ ได้

lสวัสดีคะวันนี้พบกันอีกครั้งนะคะวันนี้พิมจะขอนำเสนอเรื่องโซเชียลเน็ตเวิร์คในชีวิตประจำวันคะ

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แบ่งได้เป็น

1. เผยแพร่ตัวตน (Identity Network) เป็นเว็บไซต์โซเชียลที่มุ่งเน้นการนำเสนอตัวตนของผู้ใช้งาน เรื่องราวของตัวเอง ภาพถ่ายของตัวเอง สิ่งที่ตัวเองชอบ หรือว่าสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งต่างๆ เว็บที่มีลักษณะดังกล่าว ได้แก่ Facebook, Myspace เป็นต้น
2. เผยแพร่ผลงาน (Creative Network) เป็นเว็บไซต์ที่เน้นไปที่ผลงานของเจ้าของเว็บ มากกว่าตัวตนของเจ้าของผลงาน  ส่วนมากเว็บโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้  มักรวมผู้ที่ทำงานประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน  เช่น  เว็บรวมนักเขียนนิยาย  เว็บรวมคนรักการถ่ายภาพ  เว็บรวมนักออกแบบกราฟิก ฯลฯ  ซึ่งการสร้างเครือข่ายลักษณะนี้มักใช้ในการหาลูกค้า หรือเพื่อนร่วมอาชีพเป็นสำคัญ เช่น Coroflot, flickr, Multiply, DevianART เป็นต้น
3. ความสนใจตรงกัน (Interested Network)  เว็บไซต์ประเภทนี้คล้ายๆ กับเว็บเผยแพร่ผลงาน  คือ รวบรวมผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาไว้ด้วยกัน แต่ต่างกันที่ Interested Network เจ้าของเว็บไม่ต้องเป็นเจ้าของผลงาน แค่แชร์ลิ้งค์ หรือเว็บที่ตัวเองสนใจ เช่น Pinterest, del.licio.us, Digg, Zickr เป็นต้น
4. โลกเสมือน (Virtual life / Game online) เป็นลักษณะการจำลองตัวของผู้ใช้งานเป็นตัวละครตัวหนึ่งในเกม หรือสถานการณ์สมมุติ โดยมีเรื่องราว หรือภาระกิจให้ปฏิบัติ โดยอาจจะปฏิบัติโดยลำพังแข่งกับผู้เล่นคนอื่น หรือร่วมกันเป็นทีมก็ได้  โดยในระหว่างเล่นสามารถพูดคุย หรือสื่อสารกับผู้เล่นอื่นๆ ได้ ทำให้มีลักษณะเป็น Social Network แบบหนึ่ง  เช่น Second Life, The SIM เป็นต้น

พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ของคนไทย

พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ปรับเปลี่ยนจากการรับข่าวสารจาก Portral Site มาเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เว็บไซต์ เริ่มเด่นชัดตั้งแต่ช่วงปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีผลการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ใช้เพื่ออัพเดตข้อมูลข่าวสาร และอีก 1 ใน 3 เพื่อคุยกับเพื่อนและคนรู้จัก นั่นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ติดตามข่าวสารจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มากขึ้น

ทำไมโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ถึงกลายมาเป็นเครื่องมือทางการตลาดยอดนิยมได้

เนื่องจากการโฆษณาผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) นั้นต้นทุนต่ำแต่มีประสิทธิผลสูง หรือหมายถึงมีประสิทธิภาพในการโฆษณาสูงมาก สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง และกระจายการรับรู้ได้รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจต่างๆ ต่างให้ความสนใจ โดยระยะแรกนั้นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก มีเงินลงทุนน้อยได้ทดลองใช้งานก่อน และเมื่อประสบความสำเร็จ ก็ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลงมาโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ควบคู่ไปกับสื่อโฆษณาที่เป็น mass marketing อื่นๆ
สำหรับคุณผู้อ่านที่คิดจะลงโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) microBrand จะนำเสนอในโอกาสหน้าว่า โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) แต่ละประเภทที่เราได้นำเสนอ ประเภทไหนเหมาะสำหรับอะไร และใช้งานอย่างไร นอกจากนั้น microBrand จะพยายามสรรหาแง่มุมอื่นๆ ของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) มานำเสนอให้คุณๆ ได้อ่านกันอีก
ส่วนสำหรับท่านที่สนใจในข้อมูลทางสถิติ Fact หรือประเด็นน่าสนใจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ในเชิงตัวเลข สามารถติดตามได้ใน พฤติกรรมของผู้ใช้งาน Social Network ในประเทศไทยประจำปี 2556 และกลยุทธิ์ในการทำ การตลาดบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค 
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย
จากรายการทันโลก ทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย
     โลกปัจจุบันเป็นโลกสื่อสารไร้พรมแดนด้วยเทคโนโลยี่และอินเตอร์เน็ต สามารถทำให้คนเราซึ้งอยู่คนละมุมโลกติดต่อกันได้อย่าสะดวกสบายไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อมูล ภาพ เสียง ไฟล์ต่างๆ รวมทั้งวีดีโอคอลที่ทำให้คนที่พูดคุยกันเห็นหน้าเห็นตากันเหมือนพูดคุยกันอยู่ซึ่งๆ หน้าเลย ความสะดวก สบาย ประหยัดค่าใช้จ่าย แฝงมาด้วยอันตรายจากมิจฉาชีพ
     เราต้องดูเรื่องความปลอดภัยของการใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย เรากำลังถูกจับตามองจากต่างชาติ เพราะเราเป็นอันดับที่สามที่เป็นแหล่งไวรัสโทรจันรองจากจีนและอินโดนีเซีย และมีสถิติการถูกขโมยเงินทางอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลย เนื่องจากมีนักเจาะระบบหรือว่าแฮกเกอร์เข้ามาอาศัยอยู่เมืองไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ หรือชาวไทยเอง ทำให้ความมั่นใจในการที่จะมาลงทุนลดน้อยลงไป เพราะหลายคนที่จะมาลงทุนในประเทศไทยกลัวความเสี่ยงในเรื่องของความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ 

ความเสี่ยงทางเทคโนโลยีสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 
1. ความเสี่ยงจากการใช้สมาร์ทโฟน ในปัจจุบันเราสามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต การใช้บริการออนไลน์ต่างๆ การใช้บริการเหล่านี้ หลายครั้งที่เราต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวไปด้วย ซึ่งมิจฉาชีพก็อาจล่วงข้อมูลของเราไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางด้านการเงินจะเอาข้อมูลนั้นไปใช้ในการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายได้ 
2. ถูกหลอกให้โอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันก็มีการขายของมากมายบนอินเตอร์เน็ตมีการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ที่ผ่านมาก็มีหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นบริษัทท่องเที่ยวซึ่งอาจเป็นบริษัทปลอม ที่เปิดหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาก โฆษณาแพคเกจทัวร์ที่ถูก พอเราโอนเงินไปแล้ว ติดต่อไม่ได้ ปรากฏว่าบริษัทนั้นไม่มี อาชญากรก็ปิดเบอร์โทรหนี ปิดเว็บไซต์หนี เราก็เสียเงินฟรี  สินค้าต่างๆ บาทที่ก็โฆษณาว่ามีสินค้าชนิดนั้นชนิดนี้ อาจจะได้สินค้าที่ไม่ตรงตามที่ต้องการ เช่น สั่งไอแพด ได้ขนม และยังมีการสร้างเว็บปลอม เป็นเว็บของธนาคาร โดยให้ลูกค้าของธนาคารไปกรอกข้อมูล ทำให้อาชณากรรู้ข้อมูลของเรา แล้วเอาข้อมูลของเราไปเบิกเงินจากทางธนาคารมาใช้ 
3. ความเสี่ยงจาการเชื่อมต่อไวไฟ (Wi-Fi) สาธารณะ ในปัจจุบันมีอาชญากรที่พยายามปลอยสัญญาตามชุมชนต่างไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า ที่สาธารณะ โดยตั้งชื่อเหมือนกันชื่อบริษัทที่ให้บริการที่มีชื่อเสียงผู้ใช้ทั่้วไปก็จะไม่ทราบ เชื่อต่อกับระบบสัญญาเข้าไป โดยบางครั้งก็มีการกรอกข้อมูลส่วนตัวเขาไปด้วย ข้อมูลก็จะถูกดูดออกไปจากระบบทำให้อาชญากรรู้ข้อมูลของเรา ข้อมูลทางด้านการเงินก็นำไปใช้ในทางที่ผิดต่อไป ปลอมได้ไงเพราะในประเทศไทยสามารถซื้อซิมการ์ดโทรศัพท์มาใช้ได้โดยไม่ต้องลงทะเบียนทำให้เป็นช่องว่างทางกฎหมาย อาชญากรสามารถซื้อมาแล้วก็ต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ได้ลงทะเบียนซิมการ์ด
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย
ข้อควรระวังในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค
1. ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นวันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ หรือว่าที่อยู่ เราควรระมัดระวังข้อมูลเหล่านี้ให้มากที่สุด ทางผู้ประกอบการ หรือเว็บไซต์เขาก็อยากจะได้ข้อมูลของเราให้มากที่สุดเพื่อนำไปพัฒนาบริการ และเพื่อเหตุผลทางการตลาดด้วย ถ้าเขานำไปใช้ในวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร บางครั้งอาจจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีมาดึงข้อมูลนั้นไป ผู้ไม่ประสงค์ดีมาสร้างเว็บไซต์ปลอม เพื่อขอข้อมูลเหล่านี้ ถ้าเราให้ข้อมูลมากเกินไปก็จะเป็นอันตรายต่อเรา 
2. ไม่ตั้งโปรไฟล์เป็นสาธารณะ ก็เปรียบเหมือนการสร้างบ้านโดยที่ไม่มีรั่วบ้านเชื่อเชิญอาชญากรให้มาบุกรุกบ้านของเรา
3. ไม่รับแอดเพื่อนง่ายๆ เราควรศึกษาดีๆ ก่อนว่าคนนั้นเป็นใครเป็นเพื่อนของเพื่อนจริงหรือเปล่า  และแอดเราเป็นเพื่อนเพื่อวัตถุประสงค์ใด ถ้าไม่เป็นเพื่อนของเพื่อนจริงเราก็ไม่ขอรับเพื่อนดีกว่าเพราะว่าเขาอาจมีวัตถุประสงค์อื่นในการที่เข้ามาเป็นเพื่อนกับเรา ต้องเช็คดีก่อนไม่อย่านั้นเราจะรับคนพาลเข้ามาเป็นเพื่อนได้ง่ายๆ
4. การเช็คอินในสถานที่ต่างๆ เป็นการบอกว่าตอนนี้คุณอยู่ที่ไหน บางครั้งเราโพสรูปของเราว่าไปเที่ยวอยู่จะกลับบ้านวันนั้นวันนี้ถ้าเป็นการแชร์กันระหว่างเพื่อนก็ไม่เป็นไร แต่ว่าเป็นคนที่ไม่ได้เป็นเพือนจริงๆ เข้ามาแชร์ข้อมูลกับเราเขาเห็นว่าเราไม่อยู่บ้านคนๆ นั้นเป็นผู้ไม่ประสงค์ดี เขาอาจมาขโมยของที่บ้านเราได้ ในช่วงที่เราไม่อยู่บ้านในเวลาที่เราได้โพสไว้ทางอินเตอร์เน็ตนั้นๆ เช่น เรื่องของตี๋ โอรส ที่โดยตำรวจตามจับอยู่ ในระหว่างที่เขาหนีการจับอยู่เขาได้ไปที่หัวหินแล้วก็เช็คอินทางเฟซบุ๊ก ตำรวจก็สามารถจับกุมได้โดยติดตามทางเฟซบุ๊ก และ อีกหนึ่งกรณีที่มีการซื้อขายรถกันไม่มีการซื้อขายกันอย่างจริงจังรับเงินไปแต่ไม่เอารถมาให้ผู้เสียหายก็ตามดูจากการเช็คอินและสามารถแจ้งตำรวจจับได้ 
มีสธติจากการสำรวจ พบว่า 65% ของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คไม่ได้ปิดกันคนแปลกหน้าที่จะเข้ามาเป็นเพื่อนกับเรา หรือมาดูโปรโฟล์ของเรา และได้ได้ตั้งค่าโปรไฟล์เป็นส่วนตัวนอกจากนั้น 40% ของผู้ใช้ก็ยังให้ที่อยู่บ้านตนเองในเว็บไซต์ทำให้ผู้อื่นทราบว่าบ้านของเรานั้นอยู่ที่ไหนในทางตรงกันข้าม 60% ของคนเหล่านี้ก็ไม่เชื่อว่าคนที่เขามาขอเป็นเพื่อนต้องการเป็นเพื่อนกับเราจริงๆ 
5. ไม่สารภาพผิดทางอินเตอร์เน็ต เราไม่ควรสารภาพผิดทางอินเตอร์เน็ต เช่น มีผู้ชายใช้ยาเสพติดไปสารภาพทางอินเตอร์เน็ตทางเฟชบุ๊กของตัวเอง การใช้ยาเสพติดเป็นสิ่งผิดกฎหมายก็มีคนไปแจ้งตำรวจมาจับ ทำให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในห้องขังแทน บางคนไปสารภาพว่าเกลียดงานไม่ชอบเจ้านายของเราทำให้เจ้านายไล่ออกจากงาน มีการสำรวจว่า 8% ของผู้ประกอบการเคยไล่พนักงานออกโดยเหตุผลที่ว่าใช้สื่อสังคมที่ไม่เหมาะสม 
6. ไม่ให้เบาะแสของรหัสผ่านกับคนอื่น เช่น หลายคนอยากจะแชร์ว่าหมาของเราชื่อว่าอะไร เราชอบกีฬาประเภทไหนหรือว่านามสกุลเดินของคุณแม่ สิ่งเหล่านี้จะเป็นคำถามเมื่อเราลืมรหัส เข้าอีเมลต่างๆ ซึ่งถ้ามีผู้ไม่ประสงค์ดีเขาก็จะรู้หมดเลยว่าเราชอบอะไรมีสัตว์เลี้ยงตัวไหน ชอบกีฬางานอดิเรกอะไร เขาก็สามารถเอาไปกรอกเพื่อที่จะได้รับรหัสได้ 
7. ไม่โพสต์รูปที่ไม่เหมาะสม เหตุกาลเหล่านี้มักเกิดขึ้นกัยวัยรุ่นและวัยกลางคน เป็นการโพสต์รูปตัวเองแบบสนุนๆ เช่น โพสต์รูปตัวเองเมาหมดสภาพ หรือ โพสต์รูปตัวเองดูดบุหรี่ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นผลกระทบกับภาพลักษณ์ของตัวเอง มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน เช่น สายการบินแห่งหนึ่งมีกดห้ามลูกเรือโพสต์รูปที่เสียมเสียทางอินเตอร์เน็ตอย่างเด็ดขาด ที่ไม่ควรโพสต์อย่างยิ่งคือภาพวาบวิวของตัวเอง อากาลกิริยาที่ภาพย่วยยวน  ภาพนุนน้อยหมน้อย เราอาจรู้สึกว่าช่วงนี้เรารู้สึกว่าหุ่นดีเลยอยากโชดหุ่นให้เพื่อนๆ ของเราได้ดูแต่ภาพนั้นถูกเชมโดยเพื่อนของเพื่อน และอาจจะมีการโพสต์ต่อ ส่งต่อ พอถึงเวลาที่เราคิดได้ว่าไม่สมควรที่จะโพสต์ แม้เราจะลบออก แต่ภาพก็ได้ส่งต่อและแชร์ออกไปแล้ว
8. ไม่นินทาเจ้านายออกสื่อ ก็เป็นที่เข้าใจว่าหลายคนที่ทำงานอาจมีการอัดอั้นตันใจอยากจะระบายออกมาแต่ว่าโซเชียลเน็ตเวิร์คไม่ใช้ที่ระบายออกมา เพราะว่ามีคนอ่านข้อความของคุณจำนวนมากถึงเจ้านายของคุณจะไม่ได้อ่านเอง แต่คนอื่นอ่านแล้วเขาก็ไปพูดกัน สักวันหนึ่งก็จะถึงหูเจ้านายจนได้ 
9. ไม่โพสต์เรื่องดราม่าต่างๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว เช่น ว่าแฟนนอกใจ ทะเลาะกับเพื่อน  ไม่พอใจ ไม่พอใจเพื่อนรวมงานอะไรต่างๆ การโพสต์สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เรื่องพวกนี้ดีขึ้น หรือพาดพิงถึงบุคคลที่สาม ถ้าเขามาได้ยินสิ่งเหล่านี้เรื่องมันก็จะบานปลายออกไปอีก ทำให้มีปัญหากันเปล่าๆ และยังมองว่าเราไม่ดีด้วย
10. คิดให้ดีก่อนรับข้อเสนอ เช่น คุณได้รับรางวัลถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่หนึ่ง  คุณควรคิดให้ดีก่อนว่าจะรับข้อเสนอนั้นหรือเปล่าส่วนใหญ่แล้วจะมีสิ่งแอบแฝงอยู่ เช่น ถ้าคุณรับข้อเสนอนั้นคุณต้องจ่ายเงินมาก่อน เป็นจำนวนเท่านั้น เท่านี้ และสุดท้ายแล้วคุณก็ไม่ได้ถูกรางวัลที่หนึ่งอย่างที่เขาเสอนมา 
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย

โซเชียลมีเดีย
     ข้อควรระวังหนึ่งข้อก็คือ เมื่อเราโพสต์อะไรไปแล้วมีคนจำนวนมากที่อ่านข้อความนั้น เพราะฉะนั้นก่อนจะโพสต์อะไรคิดให้ดีก่อนเพราะว่ามันจะมีผลต่อคนจำนวนมาก และก็มีผลกับตัวเราเองด้วย ในขณะเดียวกันด้วยความที่ว่าคุยกันหรือว่าแชทกันเราไม่เห็นหน้าบางทีเราไม่รู้จักแล้วก็โพสต์ข้อความนั้นข้อความหลายๆ ข้อความนั้นไม่มีความหน้าเชื่อถือเพียงพอในอินเตอร์เน็ต เพราะฉะนั้น เราควรที่จะใช้วิจารณญาณที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่เราไม่ได้อ่าน การโพสต์ข้อความก็เหมือนกับการพูดนั้นเอง ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะโพสต์ คำพูดนั้นอยู่ภายใต้การบังคับบันชาของเราเป็นนายของมันค่ะ แต่เมื่อโพสต์ พูด ไปแล้ว สิ่งเหล่านั้นจะเป็นนายของเราและติดตัวเราโดยลบไม่ออก
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย
     โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นศัพท์ฮิตเพราว่ากระจายไปกว้างขวางมากคนทั้งโลกที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คมีเป็นพันๆ ล้านคนแค่เฟชบุ๊กอย่างเดียว พันสองร้อยล้านกว่าคน ในประเทศไทยก็มาประมาณ 20 กว่าล้านคน ถือว่าเยอะมากแล้วนับวันก็กระจายตัวกว้างขวางมาก มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างมากมาย สะดวกในการค้นคว้าข้อมูลมาใช้ในการทำงาน ในการค้นคว้าวิจัย ในการว่าแผนงานได้อย่างมาก จะเป็นประเทศไหนก็ไม่เสียเปรียบกันเพราะจะค้นข้อมูลในประเทศก็ได้ ต่างประเทศก็ได้ ขณะเดียวกันก็ทำให้คนแต่ละคนมีพาวเวอร์มากขึ้น พลังของปัจเจกชน เพราะในสมัยก่อนสื่อ เป็นสื่อมวลชน เช่นหนังสื่อพิมพื วิทยุ ทีวี ประชาชนทั่วไปเป็นผู้รับข่าวสารแล้วแต่หนังสื่อพิมพ์เขียนอะไรลงเราก็ไปอ่านคนที่เขียนคือคนที่มีพาวเวอร์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ เจ้าของคอลัมน์มีพาวเวอร์ ประชาชนคือผู้รับข่าวสารทีวีเราก็เป็นผู้ชม คนมีพาวเวอร์คือเจ้าของสถานี เจ้าของรายการ หรือพิธีกรที่นำเสนอข่าวสาร เพราะสามารถชี่นำกระแสในสังคมได้ วิทยุก็ทำนองเดียวกัน แต่พอถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ค ปรากฎว่าประชาชนแต่ละคนสามารถนำเสนอความคิด ความเห็นของตัวเอง ออกไปสู่สังคมได้ ถ้าเกิดเป็นคนที่ให้ความเห็นคมแล้วละก็ จะมีคนมาตอบรับเป็นแฟนคลับหรือว่ากระจ่ายข่าวสารนั้นต่อกันไป สู่คนเป็นแสนเป็นล้านเป็นสิบล้านคนได้อย่างรวดเร็ว คนแต่ละคนจึงมีพาวเวอร์มากเพราะสิ่งที่เขาคิดเขาพูดเขาเขียน เขานำเสนอ มันสามารถไปถึงประชาชนได้จำนวนมากเหมือนตัวคนแต่ละคนเป็นสื่อมวลชนด้วยตัวของเขาเอง แต่ว่าสิ่งใดที่มีคุณอนันก็มักจะมีโทษมหันต์เช่นเดียวกัน ถ้าไม่ระวังเราจึงเห็นข่าวในการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการทำความเสียหาย ในการทำอาชญากรรม หรือว่า ผู้ใช้อย่างไม่ถูกต้องวิธีชีวิตมีปัญหาเยอะแยะมากมาย เราจะต้องมาดูว่าเราจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างไร ให้ปลอดภัย
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย

 ภัยของโซเชียลเน็ตเวิร์คสรุปสั้นอยู่ที่ 3 ล
1. หลุด คือ หลุดเอาข้อความบ้าง ภาพบ้าง ที่ไม่ควรออกสู่สธารณะ แต่หลุดไปแล้ว เด็กบางคนไปถ่ายรูปตัวเองที่ไม่เหมาะสมออกไป นึกว่าจะอยู่กัยเพื่อนสองสามคน ที่ไหนได้ โซเชียลเน็ตเวิร์คมันเร็วมากเพื่อนเห็นแล้วแชร์ต่อนึกว่าเห็นแค่อีกคนเดียว คนนั้นอีกคนก็ต่อไปอีกคน แปบเดียวก็ไปถึงคนเป็นแสนเป็นล้านคนได้ เจ้าตัวก็เสียชื่อเสียงไปเลย หรือว่าข้อความปรับทุกข์กับเพื่อน นึกว่าเป็นเหมือนนั่งคุยกันแบบโทรศัพท์ เช่น วันนี้เจ้านายไม่เข้าท่าเลย พูดอย่างนั้นพูดอย่างนี้ ทำอะไรไม่ได้เรื่อง เพลอแปบเดียวไปถึงหูเจ้านาย เจ้านายเห็นพยานหลังฐานชัดเจน เจ้าตัวหมดอนาคตไปเลย นี้คือเรื่องของการหลุด

2. หลอก คือถูกเขาหลอก เช่น หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว บ้าง บัตรเครดิตบ้าง โปรไฟล์ส่วนตัวบ้าง แล้วไปทำอาชญากรรมหลากหลายรูปแบบ อย่างคาดไม่ถึงเลย บางคนแค่ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ในการเข้าใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์คมีคนผ่านข้างหลังแค่ชำเลืองดู เห็นแล้วว่ายูสเซอร์เนมคืออะไร ไปนั่งเครื่องห่างไปหน่อย แอดเฟรนเข้ามาขอเป็นเพื่อน อันนี้ก็ไม่รู้อีโน่อีเน่ก็รับเพื่อนไปด้วย เขาก็เลยกรอบรูปเอาไปใช้หลอกหาว่า เป็นหญิงขายบริการต่างๆ ก็มีแล้วก็ให้คนที่ต้องการสนใจจ่ายเงินเข้ามา แล้วเดียวจะไปให้บริการ เจ้าตัวอยู่เฉยๆ หารู้ไม่ว่าถูกปลอมข้อความปลอมรูป ปลอมเนื่อหา กลายเป็นคนขายบริการไปแล้วเสียชื่อเสียงไปเลย แล้วพอไปหรอกคนอื่นเขาได้ คนที่จ่ายตังไปพอเจอก็ทำร้ายเลยก็มีนึกว่าคนนี้เป็นคนหลอก จริงๆ เจ้าตัวไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย 

3. ล้น คือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างล้นเกินเรียกว่าเหมือนกันเป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คแอดดิก เสพติดเลย เขามีการทำวิจัยอยู่ว่าชาวอเมริกันอายุเกิน 25 และต่ำกว่า 25 และใช้สมาร์ทโฟนกับไม่ได้ใช้ ตื่นเช้ามาใครบ้างที่อยู่บนเตียง คว้าสมาร์ทโฟนเปิดเช็คข่าวในโซเชียลเน็ตเวิร์คก่อน มีใครส่งข้อความมาไหม  ปรากฎว่าเยอะเลยที่เป็นแบบนั้น บางคนลุกจากเตียงแต่ยังไม่ทันเปิดทีวี เข้าห้องน้ำ เช็คข่าวก่อน เกินครึ่ง นั้นคือวิถีของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน บางคน ห้าทุ่ม เที่ยวคืน อดหลับอดนอน นั่งอยู่กับโซเชียลเน็ตเวิร์คคุยกับเพื่อนแชทไป แชทมา เข้าไปหาเว็บนั้นเข้าไปหาเว็บนี้ เข้าไปเพจนั้น เพจนี้ สารพัดถองจนลืมเวลาไป สุขภาพก็ทรุดโทรม การเรียนการงานก็เสีย นี้คือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างล้นเกิน 
การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างปลอดภัย

แล้วเราจะต้องป้องกันภัยเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง 
ใช้หลักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโอวาทปาติโมกข์ในหมวดที่ 3  พระองค์ให้หลังไว้ 6 ข้อ
1. อนูปวาโท -  ไม่ไปว่าร้ายใคร 
     เราจะไม่ใช้ช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คไปกล่าวร้ายใคร จะเป็นเพื่อนกัน จะเป็นลูกน้อง ไปพูดถึงใครในทางเสียๆ หายๆ เราจะไม่ทำเลย การพูดถึงใครในแง่ลบจะไม่ทำเลย รวมทั้งว่าไปเห็นใครเขาว่าคนอื่นเข้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จริงหรือว่าไม่จริงเราก็ยังไม่รู้ชัด จะถูกใจเราไม่ถูกใจเราเราจะไม่แชร์ต่อ จะไม่มีข่าวด้านลบ ของใครออกจากตัวเรา ไม่ว่าจะเขียนเองหรือไปแชร์ของคนอื่นก็ตาม กันข้อแรกนี้ไปได้เราจะป้องกันภัยจากโซเชียลเน็ตเวิร์คได้มากเลย 
2. อนูปฆาโต - ไม่ทำร้ายใคร
     อันนี้ก็ขยายขากข้อแรก เป็นการว่าร้าย ข้อสองเป็นการชักชวนไปทำร้าย จะไปข่มขู่เขา ไม่คุกคามเขา จะในรูปแบบใดก็แล้วแต่ การคุกคามมีหลายอย่างนะ บางคนใช้การปลอมข้อความก็มี เหมือนกับใส่ร้ายป้ายสีว่าคนนั้นเป็นลักเพศ เป็นอะไรที่เสียๆ หลาย ทั้งที่เจ้าตัวเขาไม่รู้เรื่อง ปลอมเพจ ใส่รูปปลอม ทำให้เขาเสียชื่อเสียง เราจะไม่ทำอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าเป็นการว่าร้ายทั่วไป หรือว่าเป็นการทำร้ายในรูปแบบใดก็ตาม เราไม่เอา ไปทำเขาเดียวสุดท้ายมันจะย้อนกับมาหาตัว ให้ทุกแก่ท่านทุกนั้นถึงตัว 
3. ปาติโมกฺเข จ สํวโร - ความสำรวมระวังรวมระวังความประพฤติ

      ตรวจสอบตัวเราเองมีอะไรบกพร่องไหม มีอะไรเสียหายหรือเปล่า อะไรไม่เหมาะไม่ควร อย่าไปทำ นำเสนอเรื่องราวของตัวเองที่ไม่เหมาสม จะเป็นรูปภาพ จะเป็นเรื่องราวส่วนตัวที่สังคมไม่ควรรับรู้ เราอย่าเอาขึ้นไป อย่าคิดว่าเป็นสถานที่เฉพาะ ระหว่างเรากับเพื่อนสามสี่คน  เพื่อนในกลุ่มสามสีคน ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ก ไลน์ ก็ไม่เป็นไรหรอก ก็อย่า อะไรที่เราเองแชทรูปที่เราเองโพสต์ ข้อความที่เราเขียน เข้าไปในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าทำ ให้เราคิดว่าในเป็นข้อความที่สามารถไปถึงคนทั้งประเทศและทั้งโลกได้ถ้าเราคิดว่าข้อความนั้น ภาพนั้นไปถึงคนทั้งประเทศทั่วโลกแล้ว ไม่เสียหาย ให้พิมพ์ ให้โพสต์ไปเหอะ แต่ถ้าเราไม่อยากให้คนให้สังคมหมู่ใหญ่รู้นะ ถ้าอย่างนั้นละก็ อย่าโพสต์ อย่าพิมพ์ อย่าแชท อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเฉพาะ ของเรากับเพื่อนไม่กี่คน มันพร้อมหลุดทุกเมื่อ แล้วข่าวที่ออกมาก็มักเกิดจากกรณีอย่านี้ เยอะเลย
4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ - มีความสำรวมในโภชนาหาร 
     กรณีในการเสพสื่อคือว่า ต้องรู้จักบันยะบันยังนะ อย่าให้เกินเลยไป เสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์คจนเกินเลยไป มันทำให้เราเสียเวลา เสียสุขภาพ ขอให้จัดสรรเวลา มีวินัยเรื่องเวลา แต่ละวันเราจะใช้เวลาช่วงไหนถึงช่วงไหน อาจสัก 20 นาที หรือครึ่งชั่วโมงแล้วก็เสร็จละ เช้าสัก 10 นาที เพื่อต้องคอยข้อความต้องคุย ต้องเช็คอะไรยังไงก็ว่าไป ตอนเย็นสักสิบ 20 นาที พอแล้ว แล้วพอถึงเวลาก็จบ ถ้าไม่มีริเมกเวลาก็จะไปเรื่อยๆ ไม่จบแล้วมันจะดูดเวลาตัวเราเองมาเกิน  แทนที่จะเป็นคุณกับเป็นโทษมากกว่า 
5. ปนฺตญฺจ สยนาสนํ - การนอนการนั่งอันสงัด 
     รู้จักหามุมสงบ ถ้าไม่งั้นเราจะจมหายไปในโซเชียลเน็ตเวิร์คแล้วใจมันจะกระเพียมถูกข้อมูลท่วมลับจนหายไปในข้อมูลเลย  และข้อมุลเหลานั้นก็ไม่ค่อยเป็นประโยชน์เป็นสาระ มากเท่าไร ดังนั้น ต้องมีมุมสงบ ให้กับตัวเอง ให้กับครอบครัว ให้กับเพื่อนรอบข้าง อย่าจมหายไปในโลกเสมือน จนกระทังลืม ผู้คนในรอบตัวเราในโลกแห่งความเป็นจริง เขายังรอความรักความอบอุ่น รอสายสัมพันธ์ รอการสัมพัดกันที่เจอตัวต่อตัวอยู่ อย่าลืมเขา 
6. อธิจิตฺเต จ อาโยโค - การประกอบความเพียรในอธิจิต 
     คือหาเวลานั่งสมาธิ(Meditation)ด้วยนะ ยิ่งสั่งคมข้อมูลข่าวสารมามากเท่าไร เราเองที่ต้องมีใจนิ่งๆ จะได้หาทางรับมือกับช่องทางสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลได้ ยึดหลักพระพุทธเจ้าทั้ง 6 ข้อนี้ละก็เราจะพบว่าภัยของโซเชียลเน็ตเวิร์คไม่ว่าจะเป็นการหลุด ก็จะถูกคุมอยู่ จะไม่มีรูปหรือข้อมความที่ไม่เหมาะสมหลุดออกไปอีกแล้ว จะไม่ถูกใครเขาหลอก แล้วก็การใช้อย่าล้นเกิน ก็จะไม่เกิดขึ้นเราก็จะดำรงอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นอุปกรณ์ในการทำงานและการครองชีวิตได้อย่างดี อย่างมีความสุข

วันนี้เป็นไงบ้างคะหวังว่าเพื่อนๆจะได้รับความรู้กันไม่มากก็น้อยวันนี้พิมคงต้องขอลาไปก่อนขอบคุณคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น